วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ ที่ฝึกงาน




ข้อมูลเบื้องต้น ของ สถานีโทรทัศน์วิทยุแห่งประเทสไทยไทยช่อง

เป็นหน่วยงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล มีสภาพเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล เดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานี เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานี ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป และเมื่อวันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานี และในวันดังกล่าวคือวันครบรอบการใช้ชื่อ NBT 1 ปี

อาคารที่เข้าร่วมในการแข่งขันการอนุรักษ์พลังงานคือ อาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีลักษณะอาคารสูง 8 ชั้น และเป็นอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอย 7,000 ตารางเมตร

เป้าหมาย

เพื่อเป็นการเผยแพร่นโยบาย ข้อมูลข่าวสาร และการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา การเผยแพร่วัฒนธรรมทั้งภายในและนอกประเทศ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งในอดีตที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ได้มีการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการผลิตและนำเสนอรายการข่าวให้มีความรวดเร็ว ทันสมัย ถูกต้อง เที่ยงตรง และเป็นธรรม และมีรูปแบบและวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจอยู่เสมอมา เพื่อให้ทันและสอดคล้องกับความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารของประชาชนและสังคม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาความนิยมของประชาชนต่อการรับฟังรายการข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) และการเปิดรับชมรายการข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11 หรือ NBT ) ของกรมประชาสัมพันธ์
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการผลิตและนำเสนอรายการข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) และรายการข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(สทท.11 หรือ NBT) ของกรมประชาสัมพันธ์
3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการนำเสนอรายการข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) และรายการข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย(สทท.11 หรือ NBT) ของกรมประชาสัมพันธ์


กลุ่มเป่าหมาย

1. ด้านกายภาพ = เพศ ชาย,หญิง อายุ ระหว่าง 18 ปี - 50 ปี

2. ด้ายจิตภาพ = เป็นผู้มีความสนใจในข้อมูลข่าวสาร และการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา การเผยแพร่วัฒนธรรมทั้งภายในและนอกประเทศ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ทำให้ทราบความนิยม ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อการรับฟังรายการข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) และรับชมรายการข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11 หรือ NBT) กรมประชาสัมพันธ์ และนำผลการศึกษาไปใช้ดังนี้
1. การปรับปรุงนโยบายการดำเนินงานและการผลิตรายการข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11 หรือ NBT) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายตลอดจนการพัฒนารูปแบบการนำเสนอรายการให้มีคุณภาพ ทันสมัยและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม
2. เป็นข้อมูลในการประเมินตัวชี้วัดจำนวนผู้ฟัง/ผู้ชมต่อสื่อหลัก(ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)ของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำปีงบประมาณ 2551


วิเคราะห์ จุดอ่อน

มีจุดอ่อนของผังรายการในด้านรูปแบบการนำเสนอของรายการดูจืดชืดไม่น่าสนใจไม่มีสีสันหรือสร้างความหวังและขาดการสร้างสรรค์จินตนาการและแรงบันดาลใจให้กับผู้ชม เพราะขาดเงินทุนในการผลิตรายการเนื่องจากได้รับงบประมาณจากภาครัฐน้อย

วิเคราะห์ จุดแข็ง

- มุ่งให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อผู้ชมอย่างตรงไป
- ให้ความรู้และสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชน
- ผังรายการมีความแตกต่างจากสถานีโทรทัศน์กึ่งเอกชนและเอกชนตรงที่ มีภารกิจและนโยบายที่ชัดเจนเพื่อสนองตอบต่อภาครัฐหรือหน่วยงานรัฐ
- ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับภาครัฐและหน่วยงานรัฐ และให้ความรู้และข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับประชาชน
- สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนเป็นหลัก
- วิเคราะห์เนื้อหาของรายการเห็นว่ามองผู้ชมเป็นพลเมือง โครงสร้างของผังรายการมีการกำหนดสัดส่วนชัดเจนเพื่อเป็นกรอบการทำงาน และมีลักษณะที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ง่าย สามารถถอดหรือยกรายการได้ทันทีหากมีภารกิจด่วนที่จะต้องตัดเข้ารายการพิเศษ ไม่เน้นการโฆษณาชวนเชื่อชักจูงประชาชน ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการจัดเรตติ้งทางการตลาดหรือเชิงธุรกิจมาก

อารมณ์ และความรู้สึก

สื่อข่าวสาร ว่องไว ใสใจสังคม